Friday, October 10, 2008

เศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment)

ระเบียบเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(WEEE)
1. สาระสำคัญของระเบียบ

ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดหลักการให้ผู้ผลิต (ครอบคลุมทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้ นำเข้า) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับซากของผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ การใช้งานแล้ว โดยได้กำหนดขอบเขต ของสินค้าไว้เป็น 10 ประเภท คือ เครื่องใช้ขนาดใหญ่ที่ใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ โทรคมนาคม อุปกรณ์สำหรับใช้อุปโภค อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของเด็กเล่น ระบบอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือวัด หรือควบคุมต่าง ๆ อุปกรณ์จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ซึ่งระเบียบ WEEE นี้ประกอบ ด้วยข้อเสนอแนะ 2 ฉบับคือ

1. Proposal for a Directive on Waste Electrical and Electronic Equipment (DWEEE) เป็นข้อเสนอแนะ สำหรับระเบียบเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ เศษเหลือทิ้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ใหม่ (Reuse/Recycling) มีการคืนสภาพ (Recovery) และเพื่อลด ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะมีต่อสภาวะแวดล้อม อันเกิดจากการกำจัดและทำลาย WEEE โดยมีเป้าหมายของการ Recovery อยู่ระหว่างร้อยละ 60 - 80 และเป้าหมายของการ Reuse/Recycling อยู่ระหว่างร้อยละ 50 - 75 ของน้ำหนักเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์นั้นโดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

2. Proposal for a Directive on the Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment เป็นข้อเสนอแนะสำหรับระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารที่เป็นอันตรายบาง ประเภทใน เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้ใช้สารอื่นทดแทนโลหะหนักที่เป็นอันตราย ซึ่งได้แก่ Lead, Mercury, Cadmium, Chromium, Halogenated substances (CFC, PCBs, PVC) และ Brominated flame reterdants บางประเภท

2. ความคืบหน้าการออกระเบียบ

ร่างระเบียบ WEEE เป็นร่างฉบับสุดท้าย (ครั้งที่ 6) โดยได้ผ่านความเห็นชอบชากคณะจากคณะกรรมาธิการยุโรป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และให้ใช้เป็น "ข้อเสนอแนะ" "(Proposal)" ของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (Council) และสภายุโรป (European Parliament) ในการพิจารณาออกเป็นระเบียบของ EU ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกเป็นระเบียบได้ภายใน 1 ปี นับจากร่างฉบับสุดท้ายได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุโรป และเมื่อประกาศเป็นระเบียบแล้วประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศจะต้องออกกฎหมายของประเทศของตนให้เป็นไปตาม ระบียบดังกล่าวภายในเวลา 18 เดือน

3. ท่าทีของประเทศต่าง ๆ

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นกังวลว่าร่างกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการใช้วัตถุดิบต่าง ๆ อาทิ ตะกั่ว ปรอท จะขัดต่อหลักการขององค์ การการค้าโลก และมีความเห็นว่ากฎระเบียบดังกล่าวไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการค้าโลก และระบบการค้าเสรี และสำหรับภาคเอกชนญี่ปุ่น คือ Japan Business Council in Europe (JBCE) ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมาธิการยุโรป เรียกร้องให้แก้ไขร่างกฎระเบียบ WEEE ด้วยแต่ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้เตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยได้ออกกฎหมาย recycle ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน เมษายน 2543

สิงคโปร์ สิงคโปร์ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่คณะกรรมการพัฒนาการค้าสิงคโปร์ และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ณ กรุงปรัสเซลส์ ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ รวมทั้งติดตามในกรอบ ASEAN Brussels Committee อีกทางหนึ่ง

เกาหลีใต้ Korean Agency for Technology and Standards (KATS) ได้แจ้งข้อเสนอกฎระเบียบ WEEE ต่อ กระทรวงพาณิชย์ เกาหลีใต้เพื่อประสานท่าทีในระดับนโยบายนอกจากนี้ยังได้หารือกับหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มี ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมในเรื่องนี้

4. การดำเนินการฝ่ายไทย

1. คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบและกำหนดนโยบาย ของไทยต่อการออกกฎหมาย ว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายว่าด้วยการ ห้ามใช้ สารอันตรายบางชนิดในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรป มีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน

2. คณะอนุกรรมการมีผลคืบหน้าการดำเนินการดังนี้

2.1 จัดเตรียมแนวทางดำเนินงานและกลยุทธ์ในการเตรียมรับผลกระทบฯ ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินการทั้งเชิงรุก และเชิงรับ โดยได้ร่างแนวทางดำเนินการ และอยู่ระหว่างการปรับปรุงตามความเห็นของอนุกรรมการฯ

2.2 จัดเตรียมท่าทีของประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดท่าทีที่ฝ่ายไทยได้แจ้งต่อสหภาพยุโรปเกี่ยวกับ ร่างระเบียบฯ ดังกล่าว โดยมีร่างท่าทีเบื้องต้นตามเอกสารแนบ 2 เพื่อนำไปใช้เป็นท่าทีของประเทศไทยในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ไทย-ประชาคมยุโรปครั้งที่ 7 และเพื่อใช้เป็นท่าทีของประเทศไทยในการเจรจาเรื่องนี้ต่อไป

5. ความเห็นของ สศอ.

การจัดเตรียมข้อคิดเห็น/เสนอแนะที่ฝ่ายไทยควรแจ้งต่อสหภาพยุโรปนั้น สศอ.ได้เสนอให้ทบทวนเรื่องการกำหนดขอบเขต ของสินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะให้เริ่มต้นกับสินค้าที่มี ขนาดใหญ่ สินค้าในครัวเรือนและสินค้าอุปโภค เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็นฯ เนื่องจากสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอย่างแท้จริงดังนั้นภาระในการกำจัดนำกลับ มา ใช้ จะเป็นภาระของประเทศไทยซึ่งหากไทยไม่มีคามพร้อมในด้านเทคโนโลยีจะมีผลให้ สินค้าจากไทยสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดยุโรป

ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผลิตในโรงงานในประเทศ ไทยเป็นการรับจ้างประกอบจากบริษัท ต่างประเทศหรือบริษัทข้ามชาติ ดังนี้นภาระรับผิดชอบในการกำจัด/นำกลับมาใช้ใหม่นั้นน่าจะเป็นภาระของบริษัท แม้ใน ต่างประเทศหรือจะมีบริษัทแม่ในต่างประเทศเข้ามาร่วมแบ่งเบาภาระและให้การ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ

แหล่งที่มา : จุลสารสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3

No comments: