Friday, October 10, 2008

เศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment)

ระเบียบเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(WEEE)
1. สาระสำคัญของระเบียบ

ระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดหลักการให้ผู้ผลิต (ครอบคลุมทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้ นำเข้า) จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับซากของผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ การใช้งานแล้ว โดยได้กำหนดขอบเขต ของสินค้าไว้เป็น 10 ประเภท คือ เครื่องใช้ขนาดใหญ่ที่ใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์ โทรคมนาคม อุปกรณ์สำหรับใช้อุปโภค อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของเด็กเล่น ระบบอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือวัด หรือควบคุมต่าง ๆ อุปกรณ์จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ ซึ่งระเบียบ WEEE นี้ประกอบ ด้วยข้อเสนอแนะ 2 ฉบับคือ

1. Proposal for a Directive on Waste Electrical and Electronic Equipment (DWEEE) เป็นข้อเสนอแนะ สำหรับระเบียบเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้ เศษเหลือทิ้งมีจำนวนเพิ่มขึ้นส่งเสริมให้มีการนำมาใช้ใหม่ (Reuse/Recycling) มีการคืนสภาพ (Recovery) และเพื่อลด ความเสี่ยงและผลกระทบที่จะมีต่อสภาวะแวดล้อม อันเกิดจากการกำจัดและทำลาย WEEE โดยมีเป้าหมายของการ Recovery อยู่ระหว่างร้อยละ 60 - 80 และเป้าหมายของการ Reuse/Recycling อยู่ระหว่างร้อยละ 50 - 75 ของน้ำหนักเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์นั้นโดยขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

2. Proposal for a Directive on the Restriction of the Use of Certain Hazardous Substances in Electrical and Electronic Equipment เป็นข้อเสนอแนะสำหรับระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารที่เป็นอันตรายบาง ประเภทใน เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้ใช้สารอื่นทดแทนโลหะหนักที่เป็นอันตราย ซึ่งได้แก่ Lead, Mercury, Cadmium, Chromium, Halogenated substances (CFC, PCBs, PVC) และ Brominated flame reterdants บางประเภท

2. ความคืบหน้าการออกระเบียบ

ร่างระเบียบ WEEE เป็นร่างฉบับสุดท้าย (ครั้งที่ 6) โดยได้ผ่านความเห็นชอบชากคณะจากคณะกรรมาธิการยุโรป เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และให้ใช้เป็น "ข้อเสนอแนะ" "(Proposal)" ของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (Council) และสภายุโรป (European Parliament) ในการพิจารณาออกเป็นระเบียบของ EU ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถออกเป็นระเบียบได้ภายใน 1 ปี นับจากร่างฉบับสุดท้ายได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการยุโรป และเมื่อประกาศเป็นระเบียบแล้วประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศจะต้องออกกฎหมายของประเทศของตนให้เป็นไปตาม ระบียบดังกล่าวภายในเวลา 18 เดือน

3. ท่าทีของประเทศต่าง ๆ

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นกังวลว่าร่างกฎระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการใช้วัตถุดิบต่าง ๆ อาทิ ตะกั่ว ปรอท จะขัดต่อหลักการขององค์ การการค้าโลก และมีความเห็นว่ากฎระเบียบดังกล่าวไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการค้าโลก และระบบการค้าเสรี และสำหรับภาคเอกชนญี่ปุ่น คือ Japan Business Council in Europe (JBCE) ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมาธิการยุโรป เรียกร้องให้แก้ไขร่างกฎระเบียบ WEEE ด้วยแต่ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นได้เตรียมพร้อมรับมือกับเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยได้ออกกฎหมาย recycle ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือน เมษายน 2543

สิงคโปร์ สิงคโปร์ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่คณะกรรมการพัฒนาการค้าสิงคโปร์ และเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ ณ กรุงปรัสเซลส์ ติดตามความคืบหน้าในเรื่องนี้ รวมทั้งติดตามในกรอบ ASEAN Brussels Committee อีกทางหนึ่ง

เกาหลีใต้ Korean Agency for Technology and Standards (KATS) ได้แจ้งข้อเสนอกฎระเบียบ WEEE ต่อ กระทรวงพาณิชย์ เกาหลีใต้เพื่อประสานท่าทีในระดับนโยบายนอกจากนี้ยังได้หารือกับหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่มี ข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมในเรื่องนี้

4. การดำเนินการฝ่ายไทย

1. คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบและกำหนดนโยบาย ของไทยต่อการออกกฎหมาย ว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายว่าด้วยการ ห้ามใช้ สารอันตรายบางชนิดในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรป มีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธาน

2. คณะอนุกรรมการมีผลคืบหน้าการดำเนินการดังนี้

2.1 จัดเตรียมแนวทางดำเนินงานและกลยุทธ์ในการเตรียมรับผลกระทบฯ ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินการทั้งเชิงรุก และเชิงรับ โดยได้ร่างแนวทางดำเนินการ และอยู่ระหว่างการปรับปรุงตามความเห็นของอนุกรรมการฯ

2.2 จัดเตรียมท่าทีของประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการกำหนดท่าทีที่ฝ่ายไทยได้แจ้งต่อสหภาพยุโรปเกี่ยวกับ ร่างระเบียบฯ ดังกล่าว โดยมีร่างท่าทีเบื้องต้นตามเอกสารแนบ 2 เพื่อนำไปใช้เป็นท่าทีของประเทศไทยในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ไทย-ประชาคมยุโรปครั้งที่ 7 และเพื่อใช้เป็นท่าทีของประเทศไทยในการเจรจาเรื่องนี้ต่อไป

5. ความเห็นของ สศอ.

การจัดเตรียมข้อคิดเห็น/เสนอแนะที่ฝ่ายไทยควรแจ้งต่อสหภาพยุโรปนั้น สศอ.ได้เสนอให้ทบทวนเรื่องการกำหนดขอบเขต ของสินค้าผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่จะให้เริ่มต้นกับสินค้าที่มี ขนาดใหญ่ สินค้าในครัวเรือนและสินค้าอุปโภค เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็นฯ เนื่องจากสินค้าดังกล่าว เป็นสินค้าที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตอย่างแท้จริงดังนั้นภาระในการกำจัดนำกลับ มา ใช้ จะเป็นภาระของประเทศไทยซึ่งหากไทยไม่มีคามพร้อมในด้านเทคโนโลยีจะมีผลให้ สินค้าจากไทยสูญเสียความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดยุโรป

ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผลิตในโรงงานในประเทศ ไทยเป็นการรับจ้างประกอบจากบริษัท ต่างประเทศหรือบริษัทข้ามชาติ ดังนี้นภาระรับผิดชอบในการกำจัด/นำกลับมาใช้ใหม่นั้นน่าจะเป็นภาระของบริษัท แม้ใน ต่างประเทศหรือจะมีบริษัทแม่ในต่างประเทศเข้ามาร่วมแบ่งเบาภาระและให้การ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ

แหล่งที่มา : จุลสารสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3

Wednesday, October 1, 2008

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)


ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect โดยภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอน ประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน

ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซ พิษต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้น ซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก

พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคลื่นสั้นและคลื่นยาว บรรยากาศของโลกทำหน้าที่ปกป้องรังสีคลื่นสั้นไม่ให้ลงมาทำอันตรายต่อสิ่งมี ชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมา และรังสีเอ็กซ์จนทำให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศชั้นบนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางครั้งเราเรียกชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยประจุนี้ว่า "ไอโอโนสเฟียร์" มีประโยชน์ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสำหรับการสื่อสาร) รังสีอุลตราไวโอเล็ตสามารถส่องผ่านบรรยากาศชั้นบนลงมา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงที่ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพื้นโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคลื่นวิทยุในบางความถี่สามารถส่องทะลุชั้นบรรยากาศได้

บทเรียนจากภาวะโลกร้อน
ในรอบหลายปีที่ผ่านมา แทบทุกคนคงได้รับข่าวภัยพิบัติธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้จากสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิ พายุถล่ม น้ำท่วม และไฟป่า ทำให้ผู้คนที่ไม่เคยสนใจธรรมชาติมาก่อนก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงสิ่งที่เกิด ขึ้นด้วยความหวาดวิตก เพราะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนั้นนอกจากจะมีทุกรูปแบบแล้ว ยังมีความรุนแรงมากกว่าเดิม แถมในหลายภูมิภาคต้องเผชิญหน้ากับความเลวร้ายอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

เริ่มจากเหตุการณ์เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตราและในท้องทะเลอันดามัน ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตผู้คนหลายแสนคน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากมาย จากนั้นก็มีเหตุแผ่นดินไหวตามมาอีกหลายร้อยครั้งจนกลายเป็นเหตุหายนะรายวัน ทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น อเมริกา ชิลี เปรู และโบลิเวีย

ขณะเดียวกันก็เกิดสภาพอากาศวิปริตอย่างหนักในอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน ญี่ปุ่น อเมริกา ชิลี และบริเวณตอนเหนือของยุโรป ทั้งพายุหิมะ ฝนตกหนัก และอากาศหนาวเย็นสุด ๆ จนอุณหภูมิติดลบ ทำให้ประชาชนล้มตายหลายพันคน

ต่อมาอีกไม่กี่เดือนก็เกิดคลื่นความร้อน (Heat Wave) แผ่ปกคลุมทั้งจีน อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน โปรตุเกส ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ทำให้ผู้คนตายอีกหลายร้อยคนจากโรคลมแดดและขาดน้ำจนช็อคตาย รวมทั้งหลายประเทศเกิดไฟป่าอย่างรุนแรงจากอากาศที่แห้งแล้งอย่างหนัก

ถัดมายังไม่ทันที่คลื่นความร้อนจางหาย ก็เกิดลมพายุเข้ามาสร้างความเสียหายหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีนที่ต้องเผชิญพายุนับสิบลูกจนทำให้ ประชาชนล้มตายนับไม่ถ้วน และที่รัฐมหาราษฎระทางทิศตะวันตกของอินเดียก็เกิดเหตุดินถล่มหลังฝนตกหนัก ติดต่อกันนานกว่า4วัน เป็นเหตุให้มีผู้คนถูกฝังทั้งเป็นนับร้อยคน ส่วนที่อินโดนีเซีย (หมู่บ้านซีมาไฮ ชานเมืองบันดุง) ก็เกิดฝนตกหนักจนทำให้ขยะที่กองเป็นภูเขาเลากากลบฝังชาวบ้านกว่า 200 ชีวิต

ขณะที่ประเทศอเมริกาก็ต้องผชิญหน้ากับพายุเฮอริเคนนับสิบลูก แต่ที่รุนแรงที่สุดก็เป็นพายุเฮอริเคนที่มีชื่อว่า "แคทรีนา" ได้ก่อตัวและเคลื่อนจากอ่าวเม็กซิโกด้วยความรุนแรงระดับ 5 (เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2548) ถาโถมเข้าถล่มเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐหลุยเซียนา และเมืองไบลอกซี รัฐมิสซิสซิปปี แถมยังถูกพายุเฮอริเคนอีก 2 ลูกที่มีชื่อว่า "โอฟีเลีย" และ "ริตา" ตามเข้ามาถล่มซ้ำ ทำให้ประชาชนเสียชีวิตนับพันคน ไร้ที่อยู่อาศัยอีกนับล้านคน รวมทั้งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมากมาย

ซึ่งได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาเตือนว่าดินแดนสหรัฐฯ ยังจะโดนพายุเฮอริเคนที่รุนแรงขึ้นในช่วงระยะเวลาอีกหลายปีข้างหน้าอีกหลาย ลูก เนื่องมาจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

นายเคอรี เอมมานูเอล นักอุตุนิยมวิทยาแห่งสหรัฐฯ ได้รายงานผลการวิจัย ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงอันตรายอันเนื่องมาจากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น โดยเขาได้เทียบเคียงให้เห็นถึงอุณหภูมิของผิวน้ำในมหาสมุทรกับความเร็วลมของ หย่อมบริเวณความกดอากาศต่ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา ปรากฎว่าความแรงของลมและคลื่นได้ทวีขึ้นอย่างรุนแรง ความคงทนของพายุเฮอริเคนนับตั้งแต่ พ.ศ.2492 ได้นานขึ้นอีกราว 60% และความแรงของลมที่จุดศูนย์กลางของพายุทวีขึ้นอีก 50% นับแต่ปี พ.ศ.2513 เป็นต้นมา ในขณะที่อุณหภูมิของผิวน้ำในมหาสมุทรก็อุ่นขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าภาวะโลกร้อนได้ทำให้พายุเฮอริเคนได้ทวีความรุนแรง ขึ้นถึง 2 เท่าในรอบระยะเวลา 30 ปีมานี้ เพียงแค่อุณหภูมิที่พื้นผิวมหาสมุทรเพิ่มขึ้น 0.5 °C เท่านั้น

และในเดือนตุลาคม 2548 ได้พบว่าเกิดภาวะแห้งแล้งอย่างหนักในทวีปอเมริกาใต้ เป็นผลให้แม่น้ำอะเมซอนในประเทศบราซิลเกิดความแล้งจนก่อเกิดเกาะแก่งกลางน้ำ มากมาย อันเป็นผลมาจากความร้อนที่มีมากเกินขนาดบริเวณมหาสมุทรทริปิคัลนอร์ท แอตแลนติก

จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเสนอทฤษฎี ต่างๆนานาเพื่ออธิบายถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ทฤษฎีโลกร้อนโลกเย็น ทฤษฎีแกนโลกเอียง เป็นต้น ซึ่งทุกทฤษฎีล้วนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า "มนุษย์ได้ล้างผลาญทรัพยากร ธรรมชาติจนเกินพอดี เมื่อธรรมชาติเสียความสมดุลก็ย่อมเกิดการทำลายจากธรรมชาติ ซึ่งสิ่งที่เกิดนี้เป็นเพียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติเท่านั้น ยังไม่ถึงเวลาของภัยพิบัติธรรมชาติแท้จริงที่คาดว่าน่าจะเลวร้ายกว่านี้ไม่ รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า"

ที่มา : ภาวะโลกร้อน

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species)


ภาวะ คุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประเด็นหนึ่ง คือ การนำเข้าและการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน กิจกรรมมากมายของมนุษย์ได้ชักนำให้ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์เข้าสู่พื้นที่ใหม่ ที่ไม่อาจไปถึงได้โดยวิถีทางธรรมชาติ การแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ โดยเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นสูญพันธุ์ และยังเชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐกิจ ในหลาย ๆ ประเทศพบว่า การป้องกันการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานสูญเสียเงินตราน้อยกว่าการ กำจัดเพื่อการควบคุมเมื่อเกิดการแพร่ระบาดแล้ว

ด้วยความวิตกและห่วงใยของประชาคมโลก อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่ง ประกอบด้วย 42 มาตรา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 8 (h) ว่า "ประเทศภาคีภายใต้อนุสัญญาฯ จะต้องดำเนินการเท่าที่จะกระทำได้และเป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกัน การนำเข้า ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์อื่น"

ใน ฐานะประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 188 ต้องดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานตามข้อกำหนดในอนุสัญญาฯ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2537 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2537 ได้มีมติให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกรอบของอนุสัญญาฯ และในคราวประชุมเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) ที่เมือง Trondheim ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ที่ประชุมได้เน้นย้ำว่า สาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องให้ความสนใจ เนื่องจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อความ หลากหลายทางชีวภาพรองจากการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย

ความหลากหลายทางชีวภาพกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ความ หลากหลายทางชีวภาพบนโลก ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ดั้งเดิม (native) หรือมีต้นกำเนิดอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ชนิดพันธุ์หรือสิ่งมีชีวิตถูกนำเข้ามาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น ชนิดพันธุ์ที่นำเข้าอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ดั้งเดิม


ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) กลายเป็นชนิดพันธุ์ที่รุกราน โดย
กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานด้วยเหตุผลตามหลักวิทยา
ชนิดพันธุ์นั้นดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดีกว่าชนิดพันธุ์ในท้องถิ่น
ชนิดพันธุ์นั้นดำรงชีวิตอยู่ แพร่พันธุ์ และมีจำนวนประชากรมากจนสามารถครอบครอง หรือกลายเป็นชนิดพันธุ์เด่น (dominant species) ในระบบนิเวศใหม่

ที่มา : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (Ramsar Convention)

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตามชื่อสถานที่ที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) คือเมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญา นี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้ง การสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกซึ่งจะต้องมีการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ขณะนี้นับ ถึง 17 กันยายน พ.ศ. 2546 มีประเทศต่างๆ จากภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วมเป็นภาคี รวมทั้งสิ้น 138 ประเทศ รวมทั้งประเทศในทวีปเอเซีย ได้แก่ อิหร่าน อิรัก จอร์แดน อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนจีน ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซียและกัมพูชา


ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย คือ พรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 3,085 ไร่ เป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีแรมซาร์ไซต์อีก 5 แห่งได้แก่

ลำดับที่ 1098 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ประมาณ 13,837.5 ไร่
ลำดับที่ 1099 พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่ประมาณ 546,875 ไร่
ลำดับที่ 1100 พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ประมาณ 133,120 ไร่
ลำดับที่ 1101 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 2,712.5 ไร่
ลำดับที่ 1102 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง) จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ประมาณ 125,625 ไร่


วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ประเทศไทยมีแรมซาร์ไซต์เพิ่มอีก 4 แห่งได้แก่

ลำดับที่ 1182 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม–เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 515,745 ไร่
ลำดับที่ 1183 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน–ปากแม่น้ำกระบุร-ปากคลองกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีพื้นที่ประมาณ 677,625 ไร่
ลำดับที่ 1184 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ 63,750 ไร่
ลำดับที่ 1185 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา มีพื้นที่ประมาณ 133,120 ไร่

ซึ่งทำให้ประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ 10 แห่ง พื้นที่รวมประมาณ 2,214,756 ไร่ (370,600 เฮกแตร์)
ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ โดยสำนักเลขาธิการ ( The Secretariat of Ramsar Bureau) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารที่เป็นอิสระ ประกอบ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารตั้งอยู่ที่เดียวกันกับสำนักงานสหพันธ์ นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำ
พื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อาจแบ่งออกตามลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่่ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำน้ำจืด ในสองประเภทนี้ประกอบด้วย ทะเลหรือชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรือชวากทะเล แหล่งน้ำไหล ทะเลสาบหรือบึงที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือหนองน้ำ นอกจากนี้ยังรวมถึงแห่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่ชลประทาน อ่างเก็บน้ำ รวมถึงคลองที่ขุดขึ้นด้วย

พื้นที่ชุ่มน้ำหมายถึง
“พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมมีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น
ทั้ง ที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดน้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล
และพื้นที่ของทะเลในบริเวณซึ่ง เมื่อน้ำลดต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

ที่มา : พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย