Wednesday, October 1, 2008

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species)


ภาวะ คุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ประเด็นหนึ่ง คือ การนำเข้าและการแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน กิจกรรมมากมายของมนุษย์ได้ชักนำให้ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์เข้าสู่พื้นที่ใหม่ ที่ไม่อาจไปถึงได้โดยวิถีทางธรรมชาติ การแพร่ระบาดของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ โดยเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศและทำให้ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นสูญพันธุ์ และยังเชื่อมโยงไปถึงด้านเศรษฐกิจ ในหลาย ๆ ประเทศพบว่า การป้องกันการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานสูญเสียเงินตราน้อยกว่าการ กำจัดเพื่อการควบคุมเมื่อเกิดการแพร่ระบาดแล้ว

ด้วยความวิตกและห่วงใยของประชาคมโลก อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่ง ประกอบด้วย 42 มาตรา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 8 (h) ว่า "ประเทศภาคีภายใต้อนุสัญญาฯ จะต้องดำเนินการเท่าที่จะกระทำได้และเป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกัน การนำเข้า ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัย และชนิดพันธุ์อื่น"

ใน ฐานะประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 188 ต้องดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานตามข้อกำหนดในอนุสัญญาฯ และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2537 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2537 ได้มีมติให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกรอบของอนุสัญญาฯ และในคราวประชุมเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) ที่เมือง Trondheim ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ที่ประชุมได้เน้นย้ำว่า สาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องให้ความสนใจ เนื่องจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อความ หลากหลายทางชีวภาพรองจากการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย

ความหลากหลายทางชีวภาพกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น
ความ หลากหลายทางชีวภาพบนโลก ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ดั้งเดิม (native) หรือมีต้นกำเนิดอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ชนิดพันธุ์หรือสิ่งมีชีวิตถูกนำเข้ามาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น ชนิดพันธุ์ที่นำเข้าอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ดั้งเดิม


ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species) กลายเป็นชนิดพันธุ์ที่รุกราน โดย
กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกรานด้วยเหตุผลตามหลักวิทยา
ชนิดพันธุ์นั้นดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ดีกว่าชนิดพันธุ์ในท้องถิ่น
ชนิดพันธุ์นั้นดำรงชีวิตอยู่ แพร่พันธุ์ และมีจำนวนประชากรมากจนสามารถครอบครอง หรือกลายเป็นชนิดพันธุ์เด่น (dominant species) ในระบบนิเวศใหม่

ที่มา : ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

No comments: