Wednesday, October 1, 2008

พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย (Ramsar Convention)

อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตามชื่อสถานที่ที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) คือเมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญา นี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้ง การสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลกซึ่งจะต้องมีการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ตามเงื่อนไขว่าอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ขณะนี้นับ ถึง 17 กันยายน พ.ศ. 2546 มีประเทศต่างๆ จากภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วมเป็นภาคี รวมทั้งสิ้น 138 ประเทศ รวมทั้งประเทศในทวีปเอเซีย ได้แก่ อิหร่าน อิรัก จอร์แดน อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ เนปาล ศรีลังกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนจีน ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซียและกัมพูชา


ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย คือ พรุควนขี้เสียนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย มีพื้นที่ประมาณ 3,085 ไร่ เป็นลำดับที่ 948 ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศของอนุสัญญาแรมซาร์

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ประเทศไทยมีแรมซาร์ไซต์อีก 5 แห่งได้แก่

ลำดับที่ 1098 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ประมาณ 13,837.5 ไร่
ลำดับที่ 1099 พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่ประมาณ 546,875 ไร่
ลำดับที่ 1100 พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ประมาณ 133,120 ไร่
ลำดับที่ 1101 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ประมาณ 2,712.5 ไร่
ลำดับที่ 1102 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (พรุโต๊ะแดง) จังหวัดนราธิวาส มีพื้นที่ประมาณ 125,625 ไร่


วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2545 ประเทศไทยมีแรมซาร์ไซต์เพิ่มอีก 4 แห่งได้แก่

ลำดับที่ 1182 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม–เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง–ปากน้ำตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 515,745 ไร่
ลำดับที่ 1183 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน–ปากแม่น้ำกระบุร-ปากคลองกะเปอร์ จังหวัดระนอง มีพื้นที่ประมาณ 677,625 ไร่
ลำดับที่ 1184 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ 63,750 ไร่
ลำดับที่ 1185 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา มีพื้นที่ประมาณ 133,120 ไร่

ซึ่งทำให้ประเทศไทย มีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ 10 แห่ง พื้นที่รวมประมาณ 2,214,756 ไร่ (370,600 เฮกแตร์)
ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ โดยสำนักเลขาธิการ ( The Secretariat of Ramsar Bureau) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารที่เป็นอิสระ ประกอบ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารตั้งอยู่ที่เดียวกันกับสำนักงานสหพันธ์ นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ประเภทของพื้นที่ชุ่มน้ำ
พื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลกเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด อาจแบ่งออกตามลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่่ พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำน้ำจืด ในสองประเภทนี้ประกอบด้วย ทะเลหรือชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรือชวากทะเล แหล่งน้ำไหล ทะเลสาบหรือบึงที่ลุ่มชื้นแฉะ หรือหนองน้ำ นอกจากนี้ยังรวมถึงแห่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่ชลประทาน อ่างเก็บน้ำ รวมถึงคลองที่ขุดขึ้นด้วย

พื้นที่ชุ่มน้ำหมายถึง
“พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วมมีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น
ทั้ง ที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืดน้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล
และพื้นที่ของทะเลในบริเวณซึ่ง เมื่อน้ำลดต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

ที่มา : พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย

No comments: